ประวัติความเป็นมา
ในอดีตการเลี้ยงไก่ไข่ในประเทศไทย
มีการเลี้ยงตามบ้านเล็กๆ น้อยๆ เพื่อกินเนื้อกินไข่ คือ
การเลี้ยงแบบปล่อยตามธรรมชาติให้ไก่อาศัยตามใต้ถุนบ้าน ชายคา โรงนา และต้นไม้
พันธุ์ไก่ที่เลี้ยงจะเป็นไก่พันธุ์พื้นเมือง เช่น ไก่แจ้ ไก่อู และไก่ตะเภา
เป็นต้น
ต่อมาในปี พ.ศ.2492 ได้สั่งไก่พันธุ์โร๊ดไอส์แลนด์แดง
จากประเทศสหรัฐอเมริกาและพันธุ์ออสตราล็อปจากประเทศออสเตรเลีย
เข้ามาทดลองเลี้ยงและส่งเสริมให้ประชาชนเลี้ยงเป็นอาชีพ
รวมทั้งได้สั่งไก่พันธุ์อื่นๆ เข้ามาเลี้ยง เช่น พันธุ์บาร์พลีมัทร็อค
พันธุ์นิวแฮมเชียร์ เป็นต้น และในปี พ.ศ.2489 นี้เองเป็นปีที่มีการตื่นตัวในการเลี้ยงไก่อย่างมาก
เนื่องจากจอมพล ป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในสมัยนั้นและ จอมพลผิน ชุณหวัณ
รัฐมนตรีกระทรวงเกษตรและประธานกรรมการการส่งเสริมปศุสัตว์แห่งชาติ
ให้การสนับสนุนและส่งเสริมการเลี้ยงไก่เป็นอย่างมาก
ต่อมาในราวปี
พ.ศ.2494-2495 ได้มีการเลี้ยงไก่ลูกผสม
เพื่อให้ได้ไข่ดกและทนทานต่อสภาพดินฟ้าอากาศของเมืองไทย เชน
พันธุ์ออสตราไวท์โร๊ดบาร์ เป็นต้น
นอกจากนี้องค์การอาหารและเกษตรขององค์การสหประชาชาติยังได้ส่งผู้เชี่ยวชาญด้านการเลี้ยงไก่และโรคไก่เข้ามาช่วยเหลือและส่งเสริมอาชีพการเลี้ยงไก่ไข่
ในประเทศไทย อีกทั้งกรมปศุสัตว์ได้ทำการศึกษา ทดลอง และผลิตอุปกรณ์ต่างๆ
ในการเลี้ยงไก่ไข่ ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
การเลี้ยงไก่ไข่เริ่มเป็นที่ยอมรับของประชาชนมากขึ้น
กลายเป็นอาชีพที่สำคัญของคนไทยในปัจจุบัน 1. หลักการและเหตุผล
การเลี้ยงไก่พันธุ์ไข่
ถือได้ว่าเป็นสัตว์เศรษฐกิจเนื่องจากสามารถสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรได้อย่างโครงต่อเนื่อง
ตลอดทั้งปีในประเทศไทยไข่ไก่เป็นที่นิยมของผู้บริโภคและเป็นที่ต้องการของตลาดทั่วประเทศไม่ว่าเป็นร้านค้าที่สั่งซื้อไข่ไก่นำไปทำอาหารเพราะว่าไข่ไก่ได้ถือว่าอยู่ในอาหาร
5 หมู่ การเลี้ยงไก่พันธุ์ไข่เพื่อที่จะเป็นองค์ความรู้สำหรับนักเรียน ในการศึกษาและสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
2. วัตถุประสงค์
1.
เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนได้เรียนรู้และมีทักษะในวิชาชีพ
2.
เพื่อให้นักเรียนได้ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ แก่การพัฒนาตนเอง ครอบครัวและสังคม
3.
เพื่อเป็นการส่งเสริมให้เกิดอาชีพที่สร้างรายได้
บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
หลักความพอประมาณ
-
จัดกิจกรรมโดยคำนึงถึงงบประมาณรายจ่าย
รู้จักประหยัด และให้เกิดผลคุ้มค่าที่สุด
- จัดกิจกรรมโดยคำนึงถึงช่วงเวลาที่เหมาะสม ไม่กระทบต่อการเรียน เป็นต้น
หลักการมีเหตุผล
-
การเรียนรู้เรื่องเศรษฐกิจพอเพียงซึ่งเป็นสิ่งสำคัญสำหรับทุกคน
-
การจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะอาชีพโดยสอดแทรกบูรณาการกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
หลักภูมิคุ้มกัน
-
การจัดกิจกรรมโดยประยุกต์ใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
จะสามารถป้องกันความเสี่ยงและความล้มเหลวที่จะเกิดขึ้นได้ในอนาคต
เงื่อนไขความรู้
- นักเรียนมีความรู้ด้านอาชีพ
- นักเรียนมีความรู้ด้านอาชีพ สามารถนำไก่พันธุ์ไข่ไปขายได้แล้วยังได้เงินมาใช้หมุนเวียนในชีวิตประจำวันได้
- นักเรียนเกิดทักษะในการบริหารจัดการ
และการทำงานเพื่อส่วนรวม
เงื่อนไขคุณธรรม
- นักเรียนร่วมกิจกรรมอย่างสนใจ
- นักเรียนมีความซื่อสัตย์ สุจริต มีความมานะ อดทน ขยันหมั่นเพียรในการเรียนรู้
- นักเรียนมีความสามัคคีในหมู่คณะ มีความเสียสละเพื่อส่วนรวม มีใจโอบอ้อมอารี
เอื้ออาทรซึ่งกันและกัน
- ผู้รับผิดชอบจัดโครงการอย่างสร้างสรรค์
และเต็มความสามารถ
ลงสู่ ความสมดุล 4 มิติ คือ
1. เศรษฐกิจ –
มีการวางแผนดำเนินการตามกิจกรรมโดยคำนึงถึงค่าใช้จ่ายที่ประหยัด และคุ้มค่าที่สุด
2. สังคม –
สังคมไทยดำรงอยู่บนพื้นฐานของความสามัคคี ความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน
3. วัฒนธรรม -
เอกลักษณ์วิถีเกษตรกรรมของไทยจะยังคงอยู่ตราบนานเท่านาน
4 สิ่งแวดล้อม – เกิดความรัก
และร่วมกันหวงแหนทรัพยากรสิ่งแวดล้อม
|