โครงการเพาะเห็ด

 


พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 สนับสนุนให้ผู้สอนจัดบรรยากาศสภาพแวดล้อม สื่อการเรียนการสอน ให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ ผู้สอนและผู้เรียนอาจเรียนรู้ไปด้วยกันจากสื่อการเรียนการสอน เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง สามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ และสามารถนำผลผลิตเพื่อนำเงินสนับสนุน โครงการอาหารกลางวัน ทำให้นักเรียนมีอาหารที่มีประโยชน์รับประทาน หรือ จำหน่ายผลผลิตเพื่อนำเงินมาสนับสนุน โครงการอาหารกลางวัน จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นมา และโรงเรียนได้นำหลักการดำเนินชีวิตตามแนวพระราชดำริมาใช้

 


1.   หลักการและเหตุผล

                สืบเนื่องจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานได้ดำเนินโครงการน้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติ  โดยมีวัตถุเพื่อเป็นการส่งเสริมสนับสนุนการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติในระดับสถานศึกษา  ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ  ฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2550 - 2554) ซึ่งกำหนดทิศทางในการพัฒนาประเทศกำหนดขึ้นบนพื้นฐานของการเสริมสร้างทุนของประเทศทั้งทุนทางสังคม  เศรษฐกิจและทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้เข้มแข็งอย่างต่อเนื่องซึ่งยึด “คนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา  และอัญเชิญปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง”  มาเป็นแนวทางปฏิบัติเพื่อมุ่งสู่ “สังคมที่มีความสุขอย่างยั่งยืน”    

ดังนั้นโรงเรียนสุนทโรเมตตาประชาสรรค์จึงเล็งเห็นความสำคัญของการน้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติ เพื่อมาปรับใช้ในชีวิต  จึงได้เขียนโครงการเพาะเห็ดขึ้น  เพื่อเป็นการนำไปใช้ในการประกอบอาชีพ  และมีรายได้เพิ่มเติมของนักเรียนต่อไป

 

2. วัตถุประสงค์

                2.1 ผลลัพธ์ (Outcomes)

                              2.1.1  นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจในกระบวนการการเพาะเห็ด

                                2.1.2  นักเรียนสามารถนำวิธีการ และกระบวนการการเพาะเห็ดไปใช้ในการเพิ่มรายได้ให้กับตนเอง

                2.2  ผลผลิต(Outputs)

                           2.2.1  นักเรียนมีความเข้าใจในกระบวนการเพาะเห็ดคิดเป็น ร้อยละ 60

                                2.2.2  นักเรียนสามารถนำวิธีการ และกระบวนการการเพาะเห็ดไปใช้ในการเพิ่มรายได้ให้กับตนเอง  คิดเป็นร้อยละ 60

3. บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

      3.1  ความพอประมาณ

             ใช้ความรู้ที่ได้อบรมและศึกษามาให้เกิดประโยชน์สูงสุด

      3.2  ความมีเหตุผล

              นักเรียนสามารถศึกษาค้นคว้าจากแหล่งเรียนรู้เรื่องการเพาะเห็ดและนำความรู้ไปใช้ประกอบการเรียนการสอนได้

      3.3  ความมีภูมิคุ้มกันที่ดี

              นักเรียนนำความรู้เรื่องเห็ดไปใช้อย่างถูกต้อง

     3.4   เงื่อนไขความรู้

              การพัฒนาและนำวิวัฒนาการใหม่ๆ ที่ทันสมัยมาประยุกต์ใช้ในเรื่องการเพาะเห็ดและให้ความรู้แก่นักเรียน

      3.5  เงื่อนไขคุณธรรม

              การเพาะเห็ดเป็นการฝึกคุณธรรมหลายด้านทั้งระเบียบวินัย  ความอดทน  ความรับผิดชอบและการใฝ่หาความรู้เพื่อพัฒนาตนเอง

4.  การเปลี่ยนแปลงใน 4 มิติ

        4.1  ด้านเศรษฐกิจ

            การใช้แหล่งเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงการเพาะเห็ดที่มีในโรงเรียนเป็นการประหยัดงบประมาณ

        4.2  ด้านสังคม

            นักเรียนมีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่  และอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข

        4.3  ด้านสิ่งแวดล้อม

           เป็นการปรับสภาพแวดล้อมของโรงเรือนให้เหมาะกับการเรียนรู้

       4.4  ด้านวัฒนธรรม/ค่านิยม

               เป็นการปลูกฝังวัฒนธรรมการกินอยู่ที่พึ่งพาตนเองให้มากที่สุด

ภาพกิจกรรม