1. หลักการและเหตุผล
การเพิ่มประสบการณ์ในการเรียนรู้ เป็นสิ่งสำคัญของนักเรียน
ขณะเดียวกันยังเป็นการเพิ่มประสบการณ์ซึ่งอาจนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อีกด้วย เพื่อให้เป็นการจัดการศึกษาตามโครงสร้าง หลักการพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542
มาตรา 6
บอกไว้ว่าการจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ทั้งร่างกายและจิตใจ สติปัญญา
ความรู้และคุณธรรม จริยธรรม
วัฒนธรรมในการดำรงชีวิต
สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข โรงเรียนจึงเป็นหน่วยงานที่ต้องรับไปดำเนินการ ประกอบกับภาวะเศรษฐกิจของประเทศ
จะต้องเร่งแก้ปัญหาตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง
โครงการเพาะถั่วงอกจึงเกิดขึ้นเพื่อต้องการให้นักเรียนมีความรู้
และมีประสบการณ์ตรงในการเพาะถั่วงอก เป็นการส่งเสริมให้นักเรียนรู้จักคิด
และรับผิดชอบต่อหน้าที่
ทั้งนี้เพื่อให้นักเรียนเห็นคุณค่าและประโยชน์ของถั่วงอกพืชเศรษฐกิจ นอกจากนั้นนักเรียนได้รู้จักใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์เป็นการฝึกประสบการณ์ตรง
ตลอดจนส่งเสริมการค้าขายและนำไปประกอบเป็นอาชีพได้
ทั้งยังสามารถนำเอาความรู้ที่ได้รับไปใช้ในชีวิตประจำวันอีกทางหนึ่งด้วย
2. วัตถุประสงค์
1 เพื่อเป็นการฝึกทักษะเบื้องต้นในการเพาะถั่วงอก
2 เพื่อเป็นการหารายได้ระหว่างเรียน
3 เพื่อเป็นการหาช่องทางในการประกอบอาชีพ
2.1
ผลลัพธ์
2.1.1 นักเรียนมีความรู้และทักษะในการเพาะถั่วงอก
2.1.2 นักเรียนมีรายได้ระหว่างเรียน
2.1.3 บูรณาการวิชาคณิตศาสตร์,วิทยาศาสตร์,สุขศึกษาและหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
2.2 ผลผลิต
2.2.1 มีการจำหน่ายถั่วงอกอย่างเป็นระบบ
2.2.2 จัดทำบัญชีรายรับ – จ่าย
2.2.3 นักเรียนมีทักษะการคิดคำนวณการคาดคะเนและกระบวนการแก้ปัญหา หลักการบูรณาการกับเศรษฐกิจพอเพียง หลักความพอประมาณ นักเรียนได้ร่วมทำกิจกรรมและเพาะถั่วงอก หลักความมีเหตุผล นักเรียนได้เรียนรู้กระบวนการทำงาน
การแก้ปัญหา หลักการมีภูมิคุ้มกัน นักเรียนสามารถนำความรู้ที่ได้จากการเพาะถั่วงอกไปเพาะถั่วงอกรับประทานหรือจำหน่ายได้ เงื่อนไขความรู้ นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจและทักษะในการเพาะถั่วงอก เงื่อนไขคุณธรรม -
นักเรียนมีความสมัครสมานสามัคคี -
นักเรียนมีความรักความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่แก่หมู่คณะ -
นักเรียนเป็นคนตรงต่อเวลา -
นักเรียนมีความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย การเชื่อมโยงสู่ 4 มิติ ด้านเศรษฐกิจ -
ประหยัดเงินค่าใช้จ่ายในครอบครัว -
สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน ด้านสังคม -
มีความรักความสามัคคีในหมู่คณะ -
มีความโอบอ้อมอารีเอื้อเฟื้อแก่หมู่คณะ ด้านสิ่งแวดล้อม - ไม่ใช้สารพิษซึ่งเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม ด้านวัฒนธรรมและค่านิยม
-
การช่วยเหลือเกื้อกูลกันเป็นค่านิยมของไทย |