โครงการผักปลอดสารพิษ
|
 |
หลักการและเหตุผล สืบเนื่องจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานได้ดำเนินโครงการน้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการส่งเสริมสนับสนุนการขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติในระดับสถานศึกษา ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่
10 (พ.ศ.2550-2554) ซึ่งกำหนดทิศทางในการพัฒนาประเทศกำหนดขึ่นบนพื่นฐานของการเสริมสร้างทุนของประเทศทั้งทุนสังคม
เศรษฐกิจและทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้เข้มแข็งอย่างต่อเนื่องซึ่งยึด
คนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนาและน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นแนวทางปฏิบัติเพื่อมุ่งสู่สังคมที่มีความสุขอย่างยั่งยืน เศรษฐกิจและทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้เข้มแข็งอย่างต่อเนื่องซึ่งยึด คนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนาและน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นแนวทางปฏิบัติเพื่อมุ่งสู่สังคมที่มีความสุขอย่างยั่งยืน เศรษฐกิจและทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้เข้มแข็งอย่างต่อเนื่องซึ่งยึด คนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนาและน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นแนวทางปฏิบัติเพื่อมุ่งสู่สังคมที่มีความสุขอย่างยั่งยืน จากการดำเนินการดังกล่าวซึ่งทางโรงเรียนสุนทโรเมตตาประชาสรรค์ได้เล็งเห็นความสำคัญและสามารถน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ในชีวิตจริงจึงได้เขียนโครงการปลูกผักปลอดสารพิษขึ้นเพื่อเป็นแนวทางในการส่งเสริมและพัฒนาอาชีพต่อไป วัตถุประสงค์ ผลลัพธ์ 1 เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้วิธีการปลูกผักปลอดสารพิษไว้รับประทาน 2 เพื่อเป็นการเพิ่มรายได้และลดรายจ่ายในครัวเรือน 3 เพื่อให้นักเรียนได้น้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในชีวิตประจำวัน ผลผลิต 1 เพื่อให้ได้ผักปลอดสารพิษไว้บริโภค 2 เพื่อให้นักเรียนได้มีความรู้ความสามารถและทักษะการปลูกพืชผักสวนครัว 3 เพื่อให้นักเรียนได้ร่วมกันทำกิจกรรมกลุ่ม 4 เพื่อให้นักเรียนได้ฝึกทักษะการตลาด เรียนรู้วิธีการทำบัญชีรายรับ รายจ่าย หลักการบูรณาการกับเศรษฐกิจพอเพียง หลักความพอประมาณ ความพอประมาณในการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุด ความพอประมาณในการใช้เวลาในการแสวงหาความรู้ ความพอประมาณในการบริโภคผักปลอดสารพิษ หลักความมีเหตุผล รู้จักใช้เหตุผลตัดสินใจด้วยตนเองอย่างรอบคอบในการทำแปลงเกษตร เห็นคุณค่าของการปลูกพืชผักพื้นบ้าน พืชผักสวนครัว หลักการมีภูมิคุ้มกัน เมื่อมีความรู้ความเข้าใจและมีทักษะในการปลูกผักปลอดสารพิษไว้บริโภคในครัวเรือน สามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ มีหลักการนำรายได้ไปเก็บออมเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันให้ตัวเอง เงื่อนไขความรู้ -มีความรู้ความเข้าใจและทักษะในการปลูกผักปลอดสารพิษ -มีความรู้เกี่ยวกับพันธุ์พืชผักต่าง ๆ ของไทยทั้งผักพื้นบ้านและผักทั่วไป เงื่อนไขคุณธรรม -มีจิตสำนึกในการร่วมมือกันทำกิจกรรมกลุ่ม -มีความรับผิดชอบในภาระงานของตนและตรงต่อเวลา -มีความรักความสามัคคีในหมู่คณะ รู้จักช่วยเหลือเกื้อกูลกันในหมู่คณะ มีน้ำใจ การเชื่อมโยงสู่ 4 มิติ ด้านเศรษฐกิจ - ประหยัดเงินค่าใช้จ่ายในการซื้อผักไว้รับประทานที่มีราคาแพงและมีสารพิษปลอมปน ด้านสังคม - มีความรักความเมตตาต่อเพื่อนมนุษย์ - รู้จักเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตน - มีน้ำใจให้แก่หมู่คณะ มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ ด้านสิ่งแวดล้อม - รู้จักการใช้ปุ๋ยจากธรรมชาติไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม - รู้จักการประหยัดพลังงาน - นำวัสดุที่มีอยู่ในพื้นที่มาใช้ให้เกิดประโยชน์เช่น การหมักปุ๋ยชีวภาพจากสะเดา ต้นกล้วยและ เศษผัก เศษอาหาร ด้านวัฒนธรรมและค่านิยม - การช่วยเหลือเกื้อกูลเพื่อนบ้าน - ปลูกพืชผักพื้นบ้านที่หาได้ง่ายในชุมชนและยังมีประโยชน์เป็นพืชสมุนไพรหาได้ง่ายในท้องถิ่น - รู้จักชื่อพืชผักพื้นบ้านต่าง ๆ เช่น ผักชี ผักแพว - มีค่านิยมในการบริโภคพืชผักสวนครัว ซึ่งมีประโยชน์ต่อร่างกาย - อนุรักษ์วัฒนธรรมไทยโดยการเห็นคุณค่าของผักพื้นบ้านของไทย |