คณะลำตัดสุนทโรศิลป์(ศิษย์หวังเต๊ะ)
ของโรงเรียนสุนทโร-เมตตาประชาสรรค์ ได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ ๙ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๔๑ โดยการริเริ่มของท่านอาจารย์ใหญ่วิไลวรรณ วรังครัศมิ ได้มีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกลที่ต้องการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น “เพลงพื้นบ้านลำตัด”ท่านได้ให้แนวคิดว่าอำเภอลาดหลุมแก้วมีศิลปินแห่งชาติ สาขาเพลงพื้นบ้านลำตัด คือ นายหวังดี นิมา (หวังเต๊ะ) เราน่าจะสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านนี้
จึงได้เชิญคุณพ่อหวังเต๊ะและ คุณแม่ศรีนวล มาฝึกสอนเริ่มแรกในเบื้องต้น หลังจากนั้นต่อมามีผู้ควบคุมและฝึกซ้อมสืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน คือ นางบุญเสมอ ปิตินานนท์ อาจารย์สาระศิลปะ การแสดงลำตัดได้แสดงสืบทอดต่อกันมารุ่นแล้วรุ่นเล่า โดยมีปณิธานประจำคณะว่าไม่ว่าจะไปเล่นงานใดหรือที่ใดจะต้องทำตามนโยบายของคณะ คือ “สืบสานศิลปะพื้นบ้าน ต่อต้านยาเสพติด” การจัดตั้งคณะลำตัดเป็นการช่วยเหลือนักเรียนไม่ให้ไปมั่วสุมยาเสพติด ไปมีปัญหาเรื่องชู้สาวและปัญหาอื่น ๆ สิ่งที่คณะภูมิใจในเบื้องต้น คือสามารถทำให้นักเรียนคนหนึ่งที่ติดยาบ้าแล้วหันมาเล่นดนตรีตีฉิ่งประจำคณะและเลิกยาโดยเด็ดขาดก่อนที่จะมีการรณรงค์อย่างจริงจังของรัฐบาล คณะลำตัดของเราเป็นการบูรณาการหลายวิชาเข้าด้วยกัน เช่น วิชาภาษาไทย วิชานาฏศิลป์ – ดนตรี วิชาคณิตศาสตร์ วิชาสังคมศึกษา วิชาภาษาอังกฤษ วิชาเกษตรกรรม การเล่นลำตัดเป็นการฝึกให้นักเรียนอยู่ร่วมกันเป็นหมู่คณะมีความรับผิดชอบ มีระเบียบวินัย เคารพในสิทธิและหน้าที่ของกันและกัน
ปัจจุบันคณะลำตัดสุนทโรศิลป์ได้รับการต้อนรับจากท่านผู้ติดตามชมติดต่อให้ไปทำการแสดงตามสถานที่ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นงานบุญ – บวช งานขึ้นบ้านใหม่
งานต้อนรับ งานเลี้ยง – งานแต่ง
โดยทางคณะไม่ได้คิดค่าตอบแทน แล้วแต่ความประทับใจของท่านผู้หา
รางวัลที่ได้รับเท่ากับเป็นน้ำใจของท่านและเป็นการเผยแพร่การแสดงพื้นบ้านลำตัดนี้ไม่ให้สูญหายไปตามกาลเวลา.. 1.
หลักการและเหตุผล
การเรียนการสอนในปัจจุบันเน้นให้นักเรียนคิดเป็นทำเป็นทำเป็นแก้ปัญหาเป็น
สามารถเผชิญกับโลกภายนอกได้การเรียนการสอนนอกห้องเรียนก็มีความสำคัญสำหรับนักเรียนมาก ถ้านักเรียนได้ศึกษาจากสถานที่จริงจึงจะทำให้นักเรียนเกิดองค์ความรู้ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้
การส่งเสริมให้นักเรียนรู้จักรักท้องถิ่นและภูมิใจในท้องถิ่นของตนเองอาศัยอยู่รักและภูมิใจในความเป็นไทย
ดังนั้นสาระการเรียนรู้ศิลปะได้ตระหนักถึงความสำคัญในเรื่องการศึกษาเพลงพื้นบ้านลำตัด เพลงอีแซว เพลงเรือและภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เกี่ยวกับงานศิลปะซึ่งสูญหายไปกับกาลเวลาจึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น 2.บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 1.
ความมีเหตุผล ผู้เข้าร่วมกิจกรรมสามารถสามารถวิเคราะห์กิจกรรมที่ตนเองทำในเรื่องเพลงพื้นบ้านก่อนลงมือปฏิบัติกิจกรรม 2.
ความพอประมาณ ผู้เข้าร่วมสามารถใช้วัสดุอุปกรณ์ได้เหมาะสมกับกิจกรรมที่ตนเองปฏิบัติ 3.
ภูมิคุ้มกัน ผู้เข้าร่วมกิจกรรมสามารถคิดและตัดสินใจในการทำกิจกรรมในครั้งต่อไปได้อย่างรอบคอบโดยนำข้อมูลจากการปฏิบัติกิจกรรมที่ดำเนินไปแล้วมาประกอบการพิจารณา 4.
ความรอบรู้ ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความรู้ในเรื่องเพลงพื้นบ้าน 5.คุณธรรม ผู้เข้าร่วมกิจกรรมเกิดคุณธรรมในเรื่องความขยัน
อดทน ความมีวินัย ความรับผิดชอบ
ความสามัคคี
นำไปสู่ชีวิตที่มีคุณค่าอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข 3. วัตถุประสงค์ 3.1 ผลลัพธ์ (Outcomes) 3.1.1 นักเรียนโรงเรียนสุนทโรเมตตาประชาสรรค์ทุกคนสามารถร้องลำตัดได้ตามศักยภาพของตนเอง 3.1.2
ได้คณะลำตัดที่มีคุณภาพสามารถรับงานแสดงจากหน่วยงานภายนอกได้ 3.2 ผลผลิต(Outputs) 3.2.1
จัดตั้งคณะลำตัดประจำระดับชั้นและคณะลำตัดของโรงเรียน
3.2.2 วีซีดีแหล่งเรียนรู้ภายในท้องถิ่นของตนเอง |